ฝ่ายนิติบัญญัติ
...
บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตำบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน "ทุกข์" และ"สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตำบล
อำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
1. เลือกประธานสภา รองประธานสภา (มาตรา 48) และ เลขานุการสภา อบต. (มาตรา 57)
2. รับทราบนโยบายของนายก อบต. ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายก อบต. ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
3. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 46 ดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
4. ในที่ประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามต่อนายก อบต. หรือรองนายก อบต. ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ (มาตรา 56/1) : เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 58/7)